มัสยิดกูวติลอิสลาม

Item

ชื่อเรื่อง

มัสยิดกูวติลอิสลาม

ผู้แต่ง

อิหม่าม นาวิน สาสนูกูล

วันที่

2566-02-09

รายละเอียด

มัสยิดกูวติลอิสลาม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซอยสมเด็จเจ้าพระยา ๑ (ด้านหลังอุทยานสมเด็จย่า) มัสยิดตึกแดงและ ชุมชนมุสลิมตึกแดง มีประวัติความเป็นมา ย้อนหลังไปในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเนื่องจากบริเวณนี้มีลักษณะทางภูมิศาศตร์ที่ อยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเจ้าพระยา (เชิงสะพาน พุทธฯ ฝั่งธนบุรี) การคมนาคมสะดวกสบายทั้งทางบกและทางน้ำจึงกลายเป็นแหล่งติดต่อค้าขายสืบเนื่องกันมาเป็นระยะเวลาช้านาน มีชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจากหลายภูมิภาคมารวมกันอยู่ ณ บริเวณนี้ ด้วยเหตุผลหลาย ประการ อาทิเช่น ล่องเรือแพมาจากกรุงศรีอยุธยาเพื่อมาค้าขายสินค้าในบางกอก และได้มาจอดเรือแพเพื่อพักเป็นครั้งคราว หรือบ้างก็มาสร้างหลักปักฐานอยู่เป็นการถาวรก็มี บ้างก็มาไกลจากต่างบ้านต่างเมืองแต่ส่วนมากของชาวไทยมุสลิมที่เป็นบรรพชนของชาวชุมชนตึกแดงในปัจจุบันนี้ เป็นกลุ่มที่มีเชื้อสายมาจากประเทศอินเดีย และอีกกลุ่มหนึ่งมีเชื้อสายมาจากไทรบุรี-ปัตตานี สืบเนื่องมาจาก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เมื่อครั้งยังดำรงตำแหน่งเป็น พระยาศรีพิพัฒน์ฯ ท่านเป็นเจ้านายที่โปรดปรานในเรื่องวิชาการช่างฝีมือต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง คราใดที่ท่าน เดินทางลงไปว่าราชการที่หัวเมืองปักษ์ใต้ ท่านก็มักจะนำ ช่างฝีมือดี กลับมาด้วยคราว ละหลาย ๆ คน ซึ่งช่างฝีมือเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นชาวมุสลิมทั้งสิ้น ท่นได้ชุบเลี้ยง เมตตาให้ปลูกสร้างบ้านเรือน อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ชาวมุสลิม จึงเรียกท่านอย่างสนิทสนมว่า "สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย" ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้น ของชุมชนมุสลิมในบริเวณนี้อย่าง ชัดเจน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาตินี้ ท่านสืบตระกูลมาจากท่านเจ้าพระยาเฉกอ๊ะห์หมัดฯ(ต้นสกุล บุนนาค) ซึ่งเป็นชาว มุสลิมเปอร์เซีย และเป็นข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถแห่งกรุงศรีอยุธยา แต่เดิมบริเวณปากคลองบ้านสมเด็จนี้เป็นที่ตั้งของอาคารพักสินค้า ซึ่งก่อสร้างด้วยอิฐมอญหรือที่ เราเรียกกันว่า "อิฐแดง" โดยไม่มีปูนฉาบทับผิวนอกของอาคาร เมื่อมองจากด้านแม่น้ำเจ้าพระยามาแต่ ไกลก็จะเห็นเป็น กลุ่มตึกสีแดงส้มละลานตาไปหมด จึงได้เรียกบริเวณนี้กันจนติดปากมาแต่เดิมว่า "บ้านตึก
แดง" ร่วมใจกันคิดที่จะสร้างมัสยิดขึ้นมาใหม่ เลยเข้าไปหารือและขอคำแนะนำจากท่านสมเด็จองค์น้อย เมื่อได้ทราบเช่นนั้น ท่าน จึงได้ยกที่ดินบริเวณปากคลองบ้านสมเด็จ ให้แปลงหนึ่งและสั่งให้รื้ออาคารหลังเดิมที่ เคยใช้เป็นมัสยิดออกไป จากนั้นก็ได้สร้าง อาคารมัสยิดหลังใหม่ โดยมอบหมายให้ท่านนายเสมียน อาลี เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดหาทุนทรัพย์ มัสยิดกูวติลอิสลาม (สุเหร่าตึกแดง) ได้เริ่มวางรากฐานประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยท่านสมเด็จองค์น้อยได้มอบหมายให้ คณะช่างของท่านเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง มัสยิดกูวติลอิสลาม (สุเหร่าตึกแดง) ได้เริ่มวางรากฐานประมาณปี พ.ศ. ๒๔๐๐ โดยท่านสมเด็จองค์น้อยได้มอบหมายให้คณะช่างของท่านเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง โดยมีต้นแบบมาจากมัสยิดที่บ้านเกิดของท่นนายเสมียนอาลีที่เมืองแรนเดิร์ท แคว้นสุรัต ประเทศ อินเดีย ในการสร้างมัสยิดบฝั่งแม่น้ำนั้น ท่านสมเด็จองค์น้อยได้แนะให้ช่างใช้วิธีการลงฐานเช่นเดียวกันกับ การลงฐานพระปรางค์วัดอรุณ พระปรางค์วัดพิชัยญาติ คือการนำซุงทั้งต้นมาปักเรียงเป็นแนวยาวตลอดริมตลิ่ง และนำซุงขนาดย่อม ลงมาวางช้อนประสานกันป็นลักษณะตาหมากรุก จากนั้นนำโอ่งขนาดพอดีกับช่องตาหมากรุกวางครอบลงไปในระหว่างช่องว่างของซุงแต่ละช่องนั้น ๆ จนเต็มพื้นที่ในบริเวณที่จะเป็นตัว อาคารมัสยิด ก่อนที่จะถมดินปรับพื้นที่เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้างต่อไป นับเป็นวิธีการที่ได้ผลดีมาก เพราะจากวันเวลาที่ผ่านไปถึงกว่า ๑๕๐ ปี ผ่านมหาสงครามโลกมา แล้วถึง ๒ ครั้ง ๒ ครา ผ่านภัยธรรมชาติต่าง ๆ ไม่เว้นแต่ละปี มัสยิดกูติลอิสลามก็ยังคงยืนหยัดงดงาม โดดเด่นเป็นสง่าอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเช่นดังเดิมทุกประการ!
สำหรับโคมแก้วเจียระไนที่ประดับอยู่ในมัสยิดนั้น เป็นโคมแก้วเจียระไน ที่สมเด็จองค์น้อยท่านสั่ง
มาจากยุโรป พร้อม ๆ กับโคมแก้วเจียระไนชุดที่นำไปประดับอยู่ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท...

ที่มา : สำนักงานเขตคลองสาน. (๒๕๕๔).มัสยิดกูวติลอิสลาม . ใน สมโภช ๑๐๐ ปี เขตคลองสาน. (น. ๘๖- ๘๙). ม.ป.พ.

รูปแบบ

application/pdf

ภาษา

tha

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

หัวเรื่อง

มัสยิดกูวติลอิสลาม
มัสยิดตึกแดง
Kuw Ti La-it Lam Mosque
ศาสนสถาน

คอลเลกชั่น

Kuw Ti La-it Lam Mosque2.pdf

อิหม่าม นาวิน สาสนูกูล, “มัสยิดกูวติลอิสลาม”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-02-09, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 24, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/information/item/2611