วรรณกรรมจีนภูมิเรียนรู้สู่สังคมต้นรัตนโกสินทร์ : สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
Item
ชื่อเรื่อง
วรรณกรรมจีนภูมิเรียนรู้สู่สังคมต้นรัตนโกสินทร์ : สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ
วันที่
2565-09-15
รายละเอียด
วรรณกรรมจีนภูมิเรียนรู้สู่สังคมต้นรัตนโกสินทร์ : สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการค้นพบเอกสารสำคัญ คือ ต้นฉบับตัวเขียนวรรณกรรมจีนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้ส าเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 อาทิตย์นี้จึงได้ตามรอยไปกับกิจกรรม "150 ปี ศรีสุริยวงศ์"
ถึงวรรณกรรมจีน ที่ถูกแปลเป็นภาษาไทยเพื่อสร้างการเรียนรู้สู่ผู้คนในสังคมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นต้นมานั้น ได้มีการแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทยตอนนั้น เรียกพงศาวดารจีนหมด โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แปลเรื่องไซฮั่น และเรื่องสามก๊ก รวม 2 เรื่อง โดยโปรดฯให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอกรมพระราชวังหลัง ทรงอ านวยการแปล เรื่องไซฮั่น และให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก วรรณกรรมจีนสองเรื่องนี้ต่อมาได้มีอิทธิพลต่อเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ คนของวังหลัง ที่ให้พระอภัยมณี มีวิชาชำนาญการเป่าปี่อย่างเตียวเหลียง ในเรื่องไซฮั่น และอิทธิพลสามก๊ก นั้นได้แทรกอยู่ในบทละครนอกเรื่องคาวี พระราชนิพนธ์
รัชกาลที่ 2 ว่า "อวดรู้อวดหลักฮักฮึก ข้าเคยพบรบศึกมาหลายยก จะเข้าออกยอกย้อนผ่อนปรน เล่ห์กลเรานี้อย่าวิตก ทั้งพิชัยสงครามสามก๊ก ได้เรียนไว้ในอกสารพัด ยายกลับไปทูลพระเจ้าป้า ว่าเรารับอาสาไม่ข้องขัด" จึงเป็นไปได้ว่าเรื่องสามก๊กนั้น แปลก่อน ปีพ.ศ.2348 อันเป็นปีที่เจ้าพระยา พระคลัง ถึงอสัญกรรม ซึ่งน่าจะแปลก่อนหน้านี้ ไม่นานจึงทำให้หนังสือสามก๊กไม่จบและมีสองสำนวน การแปลเรื่องไซฮั่นและสามก๊ก จึงถือเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้มีการแปลเรื่องจีน
ที่มา : พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (มิถุนายน ,14 2558). วรรณกรรมจีนภูมิเรียนรู้สู่สังคมต้นรัตนโกสินทร์: สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์. แนวหน้า, น.13.
เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการค้นพบเอกสารสำคัญ คือ ต้นฉบับตัวเขียนวรรณกรรมจีนของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้ส าเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 อาทิตย์นี้จึงได้ตามรอยไปกับกิจกรรม "150 ปี ศรีสุริยวงศ์"
ถึงวรรณกรรมจีน ที่ถูกแปลเป็นภาษาไทยเพื่อสร้างการเรียนรู้สู่ผู้คนในสังคมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 เป็นต้นมานั้น ได้มีการแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทยตอนนั้น เรียกพงศาวดารจีนหมด โดยพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แปลเรื่องไซฮั่น และเรื่องสามก๊ก รวม 2 เรื่อง โดยโปรดฯให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอกรมพระราชวังหลัง ทรงอ านวยการแปล เรื่องไซฮั่น และให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเรื่องสามก๊ก วรรณกรรมจีนสองเรื่องนี้ต่อมาได้มีอิทธิพลต่อเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ คนของวังหลัง ที่ให้พระอภัยมณี มีวิชาชำนาญการเป่าปี่อย่างเตียวเหลียง ในเรื่องไซฮั่น และอิทธิพลสามก๊ก นั้นได้แทรกอยู่ในบทละครนอกเรื่องคาวี พระราชนิพนธ์
รัชกาลที่ 2 ว่า "อวดรู้อวดหลักฮักฮึก ข้าเคยพบรบศึกมาหลายยก จะเข้าออกยอกย้อนผ่อนปรน เล่ห์กลเรานี้อย่าวิตก ทั้งพิชัยสงครามสามก๊ก ได้เรียนไว้ในอกสารพัด ยายกลับไปทูลพระเจ้าป้า ว่าเรารับอาสาไม่ข้องขัด" จึงเป็นไปได้ว่าเรื่องสามก๊กนั้น แปลก่อน ปีพ.ศ.2348 อันเป็นปีที่เจ้าพระยา พระคลัง ถึงอสัญกรรม ซึ่งน่าจะแปลก่อนหน้านี้ ไม่นานจึงทำให้หนังสือสามก๊กไม่จบและมีสองสำนวน การแปลเรื่องไซฮั่นและสามก๊ก จึงถือเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้มีการแปลเรื่องจีน
ที่มา : พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (มิถุนายน ,14 2558). วรรณกรรมจีนภูมิเรียนรู้สู่สังคมต้นรัตนโกสินทร์: สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์. แนวหน้า, น.13.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
หัวเรื่อง
พงศาวดารจีน
ซ้องกั๋ง
สามก๊ก
วรรณกรรมจีน
คอลเลกชั่น
พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, “วรรณกรรมจีนภูมิเรียนรู้สู่สังคมต้นรัตนโกสินทร์ : สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์”, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2565-09-15, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 25, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/information/item/2412