วังค้างคาว
Item
ชื่อเรื่อง
วังค้างคาว
วันที่
2565-07-01
รายละเอียด
วังค้างคาว
บ้านพระประเสริฐวานิช (เจ้าสัวเขียว เหล่าประเสริฐ) เป็นอาคารเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของพระประเสริฐวานิช ต่อมา บ้านและที่ดินตกเป็นของนายเว้น (บุตร) และได้บริจาคให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2464 อาคารนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะและรูปแบบเป็นกลุ่มอาคารเก๋งจีน 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง หน้าจั่วปูนปั้น ประกอบด้วย อาคาร 2 หลังตั้งขนานกัน หันหน้าออกแม่น้ำ มีระเบียงเชื่อมถึงกัน ล้อมลานโล่ง ตรงกลางขนาดใหญ่ พื้นที่บริเวณใต้ถุนอาคารถูกแบ่งเป็นสัดส่วนทั้งสองฝั่งเพื่อใช้ประโยชน์เป็นที่เก็บสินค้า โดยในระหว่างปี พ.ศ.2450-2460 บริษัท หลักสุงเฮง ของนายเหียกวงเอี่ยม อดีตประธานหอการค้าไทย-จีน เช่าอาคารและพื้นที่เป็นสำนักงานและท่าเรือซึ่งดำเนินกิจการรับส่งสินค้าทางเรือ จากนั้น ห้างฮั่วจั่วจั่นได้มาขอเช่าต่อ โดยใช้พื้นที่ใต้ตึกเป็นที่เก็บสินค้า เมื่อเลิกเช่าตัวอาคารจึงถูกปิดร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์มาหลายสิบปี ทำให้มีค้างคาวเข้ามาทำรังและอาศัยอยู่บริเวณใต้ตึกเป็นจำนวนมาก จึงอาจเป็นสาเหตุทำให้มีคนเรียกอาคารเก่าหลังนี้ว่า “วังค้างคาว” และในปี พ.ศ.2561 กรมศิลปากรได้ประกาศรายชื่อโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานครตามนัยราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 165 ง ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 โดยมีบ้านพระประเสริฐวานิช (เขียว) (วังค้างคาว) ในประกาศดังกล่าว
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์. (5 สิงหาคม 2564). กรมธนารักษ์เดินหน้าเปิดประมูลสิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุ (วังค้างคาว). ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000076809
บ้านพระประเสริฐวานิช (เจ้าสัวเขียว เหล่าประเสริฐ) เป็นอาคารเก่าริมแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเป็นกรรมสิทธิ์ของพระประเสริฐวานิช ต่อมา บ้านและที่ดินตกเป็นของนายเว้น (บุตร) และได้บริจาคให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2464 อาคารนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 มีลักษณะและรูปแบบเป็นกลุ่มอาคารเก๋งจีน 2 ชั้น ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง หน้าจั่วปูนปั้น ประกอบด้วย อาคาร 2 หลังตั้งขนานกัน หันหน้าออกแม่น้ำ มีระเบียงเชื่อมถึงกัน ล้อมลานโล่ง ตรงกลางขนาดใหญ่ พื้นที่บริเวณใต้ถุนอาคารถูกแบ่งเป็นสัดส่วนทั้งสองฝั่งเพื่อใช้ประโยชน์เป็นที่เก็บสินค้า โดยในระหว่างปี พ.ศ.2450-2460 บริษัท หลักสุงเฮง ของนายเหียกวงเอี่ยม อดีตประธานหอการค้าไทย-จีน เช่าอาคารและพื้นที่เป็นสำนักงานและท่าเรือซึ่งดำเนินกิจการรับส่งสินค้าทางเรือ จากนั้น ห้างฮั่วจั่วจั่นได้มาขอเช่าต่อ โดยใช้พื้นที่ใต้ตึกเป็นที่เก็บสินค้า เมื่อเลิกเช่าตัวอาคารจึงถูกปิดร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์มาหลายสิบปี ทำให้มีค้างคาวเข้ามาทำรังและอาศัยอยู่บริเวณใต้ตึกเป็นจำนวนมาก จึงอาจเป็นสาเหตุทำให้มีคนเรียกอาคารเก่าหลังนี้ว่า “วังค้างคาว” และในปี พ.ศ.2561 กรมศิลปากรได้ประกาศรายชื่อโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานครตามนัยราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 165 ง ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2561 โดยมีบ้านพระประเสริฐวานิช (เขียว) (วังค้างคาว) ในประกาศดังกล่าว
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์. (5 สิงหาคม 2564). กรมธนารักษ์เดินหน้าเปิดประมูลสิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุ (วังค้างคาว). ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000076809
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
บ้านพระประเสริฐวานิช
วังค้างคาว
สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
คอลเลกชั่น
“วังค้างคาว”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-07-01, คลังข้อมูลประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed December 26, 2024, http://dlib.bsru.ac.th/s/information/item/2355